บทความ

Eating Disorder

Let's talk about Eating Disorder
 
สวัสดีค่ะทุกคน อาทิตย์นี้เป็น National Eating Disorder Awareness week ค่ะ ที่ทุกๆปี จะมีหนึ่งอาทิตย์ ที่เป็นสัปดาห์ของการรณรงค์ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และเปิดโอกาสให้คนได้พูดถึงเรื่องของโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปรกติให้มากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันมีคนที่เป็น ED (Eating Disorder) เพิ่มขึ้นมาก ไม่ว่าจะจากความกดดันทางสังคม หรือความเครียด หรือการที่สื่อต่างๆในทุกวันนี้ต่างยกย่องเชิดชูคนที่ผอมและรูปร่างดีว่าเป็นที่นิยม ทำให้เกิดการสร้างพฤติกรรมการกินที่ไม่ปรกติ รวมไปถึงเกิดชุดความคิดที่ทำให้พัฒนากลายเป็น ED ได้
 
ED ในทางการแพทย์แล้วถือเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่เรามักจะได้ยินคำศัพท์ทาง clinical terms ที่จำแนกประเภทของโรคไว้ อย่างเช่น 1. Anorexia Nervosa หรือโรคที่กลัวตัวเองอ้วนจนไม่กินอะไร หรือออกกำลังกายอย่างหนักเพราะกลัวน้ำหนักขึ้นทั้งๆที่ผอมมากอยู่แล้ว หรือ 2. Bulimia Nervosa ที่ประกอบไปด้วย episode ของการ binging หรือการกินไม่หยุดแบบควบคุมตัวเองไม่ได้ และการ purging คือการพยายามเอาสิ่งที่กินนั้นออกไปจากร่างกายไม่ว่าจะจากการล้วงคอ หรือกินยาถ่าย หรือ 3. Binge Eating คือบุคคลที่กินอาหารในปริมาณที่มากและไม่สามารถควบคุมได้จนกระทั่งถึงจุดที่กินจนร่างกายรับไม่ไหวถึงจะหยุด แต่กลุ่มนี้จะไม่ได้พยายามกำจัดอาหารนั้นๆออกเหมือน Bulimia แต่จะเป็นความรู้สึกผิด รู้สึกแย่กับตัวเองตามมา (สิ่งที่ทำให้ Binge Eating แตกต่างจากการออกไปกินสังสรรค์ หรือกินเยอะเกินเป็นบางครั้งบางคราว คือการ Binge เป็นความรู้สึกที่ควบคุมตัวเองไม่ได้และพยายามแยกตัวเองออกจากสังคม คนที่มีอาการจะรู้สึกว่าตัวเองต้อง binge “เดี๋ยวนี้” และยังมี 4. Orthorexia Nervosa หรือโรคที่คลั่งเรื่องของ “สุขภาพ” มากจนเกินไป คือต้องกินแต่อาหารที่เรียกว่า “คลีน” เท่านั้น และมีความวิตกกังวลกับการเลือกกินอาหารที่ “ไม่คลีน” มากผิดปรกติ
 
ยังคงมีพฤติกรรมการกินที่ผิดปรกติอีกหลายรูปแบบค่ะ และพฤติกรรมเหล่านี้สามารถเพิ่มความรุนแรงไปจนถึงทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ รู้ไหมคะว่าจากสถิติในปัจจุบัน ED เป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงที่สุดของโรคทางจิตเวชเลยทีเดียวค่ะ
 
แพรก็เคยเป็นคนนึงที่เคยมี Eating Disorder ค่ะ และจะไม่อาย หรือปิดบัง ที่จะพูดถึงมันในวันนี้ เพื่อให้ใครๆได้รับรู้ ว่ามันมีอยู่จริง และมันเกิดขึ้นได้กับเราๆทุกคน ไม่จำกัดเพศ ไม่จำกัดอายุ และไม่มีสถานะจำกัดว่าคุณจะเป็นใคร หรือแม้แต่คนที่เราเห็นว่าภายนอกปรกติดี ก็สามารถเป็น Eating Disorder ได้ทั้งนั้น
 
สิ่งที่สำคัญของ ED คือตัวพฤติกรรมเองมักจะไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง แต่ปัญหา “เบื้องหลัง” ที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการกินที่ผิดปรกติต่างหาก ที่เป็นปัญหาที่แท้จริงที่ต้องได้รับการแก้ไข แต่รูปแบบการกินที่ผิดปรกติ เป็นหนึ่งในวิธีที่เราหลีกเลี่ยงปัญหาหรือพยายามแก้ไขปัญหา...ที่ไม่ใช่ที่ต้นตอของมัน
 
ในฐานะที่วันนี้แพรเป็นโค้ชทางด้านสุขภาพและโภชนาการ ก็ต้องบอกก่อนว่า scope of practice หรือหน้าที่ของโค้ชจะไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่ต้นตอของคนที่มี Eating Disorder ได้เหมือนอย่างนักจิตบำบัด หรือจิตแพทย์ แต่เราสามารถแนะนำแนวทางของการกินที่เหมาะสม และการฝึกการมี self awareness ในพฤติกรรมต่างๆด้านอาหาร ควบคู่ไปกับการรักษาได้ค่ะ
 
ใครที่กำลังคิดว่าตัวเองเป็นอยู่ อย่ารอให้อาการเป็นหนักแล้วถึงค่อยหาแนวทางในการช่วยตัวเอง หรืออย่ากลัว และอย่าอาย ถ้าจะต้องไปปรึกษาใคร ทุกอย่างมีทางออก อย่าเก็บไว้คนเดียวค่ะ
 
........
 
 
โค้ชแพร – แพร เอมเมอรี่
 
ACE certified PT
ACE Certified Health Coach
PN Lv1 (Certificate in exercise nutrition)
Women Fitness Specialist (FIT)
โดย แพร แอมเมอรี่

ACE Certified PT, ACE Certified Health Coach, PN Level 1 certified

เมื่อ 03 Mar 2021 | อ่านแล้ว 1,647 ครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อเรารู้แล้วว่าทำไมเราถึงอยากกินอาหาร เราก็จะสามารถปรับพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น เพื่อทำให้เราควบคุมการกินได้ดี ลดไขมันและเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้อย่างยั่งยืน

เมื่อ 03 Mar 2021 | อ่านแล้ว 10,627 ครั้ง

ปริมาณอาหารจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำในวันนั้น โดยที่จะเน้นที่ให้โปรตีนต้องถึงกับที่ร่างกายต้องการ เพิ่มการกินผักให้มาก วันที่ออกกำลังกายอาจจะกินคาร์โบไฮเดรตจากขนมเพิ่มขึ้นบ้างบางครั้ง

เมื่อ 03 Mar 2021 | อ่านแล้ว 1,140 ครั้ง

การกินอาหารที่ดีและพลังงานที่เพียงพอจะส่งผลต่อสภาพจิตใจทั้งในชีวิตประจำวัน เรื่องการทำงาน ไม่ใช่แค่เรื่องของการออกกำลังกายและรูปร่าง

เมื่อ 08 Mar 2021 | อ่านแล้ว 1,651 ครั้ง

ต้องมองอาหารเป็นภาพรวมทั้งวัน ไม่ใช่มองแค่อาหารเป็นจานๆ ในปริมาณที่เพียงพอเหมาะสมที่สุดในทุกมื้อ ทานให้พอดี จากหลากหลายแหล่ง

เมื่อ 08 Mar 2021 | อ่านแล้ว 1,482 ครั้ง