A PHP Error was encountered

Severity: Warning

Message: getimagesize(): Peer certificate CN=`ptm.fit-d.com' did not match expected CN=`fit-d.com'

Filename: libraries/Header_tag.php

Line Number: 112

Backtrace:

File: /var/www/fit-d/application/libraries/Header_tag.php
Line: 112
Function: getimagesize

File: /var/www/fit-d/application/controllers/Blog.php
Line: 112
Function: set_image_preview

File: /var/www/fit-d/index.php
Line: 323
Function: require_once

A PHP Error was encountered

Severity: Warning

Message: getimagesize(): Failed to enable crypto

Filename: libraries/Header_tag.php

Line Number: 112

Backtrace:

File: /var/www/fit-d/application/libraries/Header_tag.php
Line: 112
Function: getimagesize

File: /var/www/fit-d/application/controllers/Blog.php
Line: 112
Function: set_image_preview

File: /var/www/fit-d/index.php
Line: 323
Function: require_once

A PHP Error was encountered

Severity: Warning

Message: getimagesize(https://fit-d.com/uploads/blog_cover/fccb929cf0022e1502bce058bc6095e6.jpg): failed to open stream: operation failed

Filename: libraries/Header_tag.php

Line Number: 112

Backtrace:

File: /var/www/fit-d/application/libraries/Header_tag.php
Line: 112
Function: getimagesize

File: /var/www/fit-d/application/controllers/Blog.php
Line: 112
Function: set_image_preview

File: /var/www/fit-d/index.php
Line: 323
Function: require_once

ระบบย่อยอาหารกับความเครียด สัมพันธ์กันอย่างไร? - Fit-d.com

บทความ

ระบบย่อยอาหารกับความเครียด สัมพันธ์กันอย่างไร?

มีใครเคยสังเกตตัวเองบ้างมั้ยคะ ว่าบางครั้งเราก็มีช่วงที่ท้องอืด อาหารไม่ย่อย สลับกับท้องเสีย ท้องผูก หรือมีปัญหาต่างๆเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารขึ้นมามากกว่าปรกติทั้งๆที่อาหารก็กินเหมือนเดิม และไม่ได้มีประวัติการแพ้อาหารอะไรมาก่อน ถ้าใครมีอาการเหล่านี้โดยยังไม่แน่ใจว่าสาเหตุจะมาจากอะไรกันแน่ ขอให้ลองกลับมาดูที่ความเครียดของเราในปัจจุบันก่อนค่ะ เพราะสมองของเรากับระบบทางเดินอาหาร ทำงานสัมพันธ์กันมากกว่าที่เราคิด

 

เนื่องจากระบบทางเดินอาหารและระบบลำไส้ของเราเป็นระบบประสาทอัตโนมัติ  ที่เรียกว่าระบบประสาทลำไส้ ( Enteric Nervous system – ENS) ซึ่งเป็นระบบย่อยของระบบประสาทส่วนกลาง ( Central Nervous System – CNS ) ที่ทำงานเชื่อมโยงและสื่อสารกันผ่านระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetic. nervous system) พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ ระบบประสาทเหล่านี้ทำงานนอกเหนืออำนาจคำสั่งของจิตใจ เมื่อเรารู้สึกเครียด ระบบเหล่านี้จะสั่งการอัตโนมัติให้ส่งปฏิกริยาต่างๆในร่างกายของเราเพื่อตอบสนองต่อสารความเครียดที่เพิ่มขึ้นมา

 

เกิดอะไรขึ้นเมื่อเราเครียด?

เมื่อ Stress Hormones หรืออารมณ์ความรู้สึกเครียดของเราเกิดขึ้น ร่างกายจะตอบสนองด้วยระบบซิมพาเทติก ซึ่งเป็นระบบอัตโนมัติที่ตอบสนองต่อภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นต่อตัวเรา ร่างกายจะตอบสนองโดย

  • เลือดถูกส่งไปเลี้ยงสมอง หัวใจ ปอด กล้ามเนื้อ มากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมในการหนีจากอันตราย (fight or flight)
  • หัวใจเต้นเร็วขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะดังกล่าว
  • เลือดถูกลดการไหลเวียนไปที่ระบบย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหารของเราจะถูกลดการใช้งานชั่วคราวเพราะเมื่อร่างกายต้องเตรียมหนีจากอันตราย เราคงไม่มีเวลานั่งกินข้าว (แต่ในปัจจุบันเราเครียดแม้จะเป็นตอนที่นั่งอยู่ในห้องประชุมเฉยๆก่อนพักกินข้าว)
  • น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เพื่อเตรียมส่ง Glucose ไปให้สมองและกล้ามเนื้อใช้ได้ทันที
  • หลอดเลือดบีบและหดตัว

 

ผลที่ตามมาคือ ความดันเพิ่มสูงขึ้น, ระบบย่อยอาหารมีปัญหา, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามตัวเนื่องจากกล้ามเนื้อมีการหดเกร็ง และหากเกิดความเครียดแบบนี้บ่อยๆกับร่างกาย อาการเหล่านี้ก็จะเป็นเพิ่มมากขึ้นและส่งผลกระทบไปถึงขณะที่เรานอนหลับได้เลยทีเดียว

 

และเกิดอะไรขึ้นกับระบบย่อยอาหารเมื่อเราเครียด?

                ในภาวะปรกติ ระบบย่อยอาหารของเราจะทำหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหารที่เรารับประทาน และดูดซึมสารอาหารต่างๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพื่อสุขภาพที่ดี แต่เมื่อเราเครียด ระบบเหล่านี้แทบจะถูก shut down หรือลดการทำงานลง การหลั่งกรดในระบบย่อยอาหารจะทำงานผิดปรกติ ทำให้แบคทีเรียที่ดีในลำไส้ถูกทำลายไปด้วย ส่งผลให้เกิดความผิดปรกติต่างๆ เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องผูก ท้องเสีย กรดไหลย้อน และอาการอื่นๆตามมาค่ะ

 

พัฒนาสุขภาพลำไส้

                เราสามารถพัฒนาสุขภาพลำไส้ของเราด้วยการดูแลจัดการความเครียดของเราให้เหมาะสม อย่าปล่อยให้ความเครียดที่มีมากเกินไปส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของเรา รับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลากหลายชนิดเพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ นอนพักผ่อนให้เป็นเวลา และหากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้อยู่ในปัจจุบันอยู่แล้วก็ควรหลีกเลี่ยง แอลกอฮอล์ คาเฟอีน หรืออาหารที่มีรสเผ็ด รสจัด ไปก่อนในช่วงนี้ค่ะ

 

รู้หรือไม่

Serotonin ซึ่งเป็นสารแห่งความสุขที่เรามักคิดว่าเกิดขึ้นที่สมอง แท้จริงแล้วกว่า 90% ของเซโรโทนินนั้นถูกสร้างขึ้นในระบบทางเดินอาหารของเรานี่เอง ระบบย่อยอาหารของเราจึงได้ชื่อว่าเป็น “สมองที่2” ของร่างกาย เพราะมีความเชื่อมโยงต่อความรู้สึกและอารมณ์ของเรามากเลยทีเดียว ดังนั้นถ้าเราหันมาดูแลสุขภาพของระบบทางเดินอาหารของเราให้ดีขึ้น นั่นหมายถึงเราอาจจะกำลังมีสภาวะทางอารมณ์ที่ดีขึ้นด้วยค่ะ

โดย แพร แอมเมอรี่

ACE Certified PT, ACE Certified Health Coach, PN Level 1 certified

เมื่อ 18 Aug 2020 | อ่านแล้ว 4,579 ครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

การกินสารอาหารให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ หาจุดบาลานซ์การกินที่ทำให้เรามีแรงทำงานได้ดี สมองปลอดโปร่ง ออกกำลังกายได้เต็มที่ นอนหลับสนิท ตื่นมาสดชื่น อารมณ์ดี และมีหุ่นที่อยากได้

เมื่อ 11 Jun 2024 | อ่านแล้ว 82 ครั้ง

เวลาอยากที่จะมีรูปร่างที่ดีขึ้น มักจะลงมือทำด้วยวิธีที่เครียดเกินไป เข้มงวดเกินไป เช่น การกินคลีน กินอกไก่ ผัดน้ำ ข้าวกล้อง การชั่งตวงวัด หรือการนับแคลอรี่แบบเคร่งเครียด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ล้มเลิกการทำได้ง่าย

เมื่อ 27 May 2024 | อ่านแล้ว 622 ครั้ง

เพื่อช่วยให้เราสามารถมีรูปร่างที่ต้องการได้ ดังนั้นเราจำเป็นต้องใส่ใจสารอาหาร โดยเฉพาะโปรตีนและการพักผ่อน

เมื่อ 28 Feb 2024 | อ่านแล้ว 1,666 ครั้ง

กินอะไรก็ท้องอืด! ออกกำลังกายยังไงก็ยังมีพุง! รู้มั้ยว่าบางทีอาจจะดีขึ้นได้แค่เปลี่ยนอาหารที่กิน! | 6 อาการแพ้อาหารที่พบบ่อย

เมื่อ 24 Nov 2023 | อ่านแล้ว 1,882 ครั้ง