บทความ

ความหนักของนักวิ่งในแต่ละระดับ?

 
 เมื่อวานเฟซบุ๊คแจ้งเตือนผมว่า 1 ปีที่แล้วผมอยู่ในงานอบรม “Modern Training for Road Runner” วันนี้ผมเลยอยากนำความรู้ที่ได้มาแชร์ให้ฟังกันอีกครั้งนึงครับ 
 
ทั้งนี้ ผมขออธิบายข้อมูลต่าง ๆ ตามมุมมองของผม จากต้นฉบับของ Mr.Karl Gunter Lange (ผู้บรรยาย) ซึ่งเป็นผู้ฝึกสอนระดับสูงของสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ (IAAF) ดังนี้
 
==============================
 
1.Vcr Test  - สำคัญสำหรับนักวิ่ง เพราะ Vcr Test คือการทดสอบที่จะทำให้รู้พื้นฐานของนักวิ่งคนนั้นว่าอยู่ตรงจุดไหน และควรกำหนดการซ้อมอย่างไรจึงจะเหมาะสม
โดยผลของการทดสอบ Vcr Test จะถูกนำมาแทนค่าในตาราง เพื่อที่จะกำหนด Pace (นาที/1km.) ในโปรแกรมการซ้อมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเกณฑ์การทดสอบขั้นพื้นฐาน นั่นคือการวิ่ง 30 นาที ให้ได้ระยะทางมากที่สุด
เช่น ผู้ทดสอบวิ่ง 30 นาที ได้ระยะทาง 5.4 กิโลเมตร พอนำมาแทนค่าในตารางจะเทียบเคียง Pace 5.57 ซึ่งตารางจะแสดงให้เห็นว่าผู้ทดสอบคนนี้ ถ้าจะซ้อมโปรแกรม Easy Run, Tempo Run, LSD หรือ HIIT ควรจะใช้ Pace เท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับพื้นฐานของผู้ทดสอบ
 
2.HR Zone  - นักวิ่งส่วนมากคงคุ้นเคยกับการซ้อม Zone 2 เพื่อพัฒนาระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงการสร้างพื้นฐานความทนทาน เพียงแต่การคำนวณหา HR Zone ด้วยวิธี Maximum HR = 220-อายุ นั้นไม่สามารถใช้ได้เสมอไป เป็นเพียงค่าประมาณการ อีกทั้งยังมีปัจจัยภายนอกอื่น ที่ส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้
“ดังนั้น พยายามอย่ายึดติดกับ Zone 2 เพราะ Zone 3 ก็สำคัญต่อการพัฒนาเช่นเดียวกัน”
 
3.HIIT  - High Intensity Interval Training หรือที่นักวิ่งเรียกกันในโปรแกรมซ้อมว่า “ลงคอร์ท” ที่มีความหนักมากเกินไป อาจส่งผลให้ร่างกายเกิดการถดถอย* ได้มากกว่าการพัฒนา ทั้งนี้ความหนักที่เหมาะสมของโปรแกรม HIIT ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ที่แตกต่างกันของแต่ละชนิดกีฬา ซึ่งในที่นี้เรากำลังพูดถึง marathoners
 
==============================
 
*การถดถอยนั้นเกิดขึ้นจาก “ไมโทคอนเดรีย” ถูกทำลาย
**”ไมโทคอนเดรีย” เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ภายในร่างกาย และมีความสำคัญมากกับกิจกรรมที่ใช้ความทนทานหรือกิจกรรมที่ใช้ออกซิเจนในกระบวนการขับเคลื่อนของร่างกาย (Aerobic System)
***เพิ่มเติมครับ!! การถดถอยอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นได้นั่นก็คืออาการบาดเจ็บ เพราะฉะนั้นอย่าลืมซ้อมวิ่งตามความเหมาะสมของแต่ละคนด้วยนะครับ 
 
==============================
 
จอม โศรัจ แวววิริยะ
 
M.Sc. Sport Science (Sport Management)/ B.Sc. Sport Science (Sport Science), Chulalongkorn University, Thailand.
Certified Person Trainer (American Council on Exercise)
อดีตนักกรีฑาระยะสั้นตัวแทนสถาบันการศึกษา (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี)
 
โดย Jom Fit-D

จอม ฟิตดี// Co-Founder of Fit-D Fitness Co.Ltd.// M.Sc.Sports Science (Sport Management), Chulalongkorn University, Thailand.// Certified Personal Trainer (American Council on Exercise)

เมื่อ 04 Mar 2021 | อ่านแล้ว 19,321 ครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

นักวิ่งที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อมากกว่าคนทั่วไป ก็ไม่ควรละเลยการออกกำลังกายอีก 2 ประเภทเช่นกัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงที่จะทำให้วิ่งได้ดีขึ้นและลดปัจจัยเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้

เมื่อ 22 Sep 2022 | อ่านแล้ว 2,132 ครั้ง

ซ้อมด้วยความเร็วและระยะทางที่เหมาะสม หาเวลาพักผ่อนให้ร่างกายอย่างสม่ำเสมอ อย่าฝืนทั้งที่มีอาการบาดเจ็บ แล้วการวิ่งของคุณจะพัฒนาขึ้นเอง

เมื่อ 04 Mar 2021 | อ่านแล้ว 1,331 ครั้ง

การฝึกเวทเทรนนิ่งสำหรับนักวิ่ง ก็ไม่ได้ทำให้ตัวใหญ่ขึ้นหรือกล้ามโต เพราะรูปแบบการฝึกก็แตกต่างจากนักเพาะกาย และถ้าเรามีการวางแผน มีโปรแกรมออกกำลังกาย จัดตารางฝึกเวทกับซ้อมวิ่งได้เหมาะสม

เมื่อ 29 Jul 2022 | อ่านแล้ว 3,824 ครั้ง