บทความ
1 ฝ่ามือ พิชิตความอ้วน
ถ้าคุณสามารถกะปริมาณอาหารแบบง่าย ๆ ได้ โดยไม่ต้องพึ่งเครื่องชั่งน้ำหนักอาหารหรือการนับแคลอรี่ ใช้เพียงแค่ 1 ฝ่ามือ คิดว่าน่าสนใจหรือไม่ ซึ่งหากคุณสนใจเราแนะนำให้อ่านบทความนี้
บางครั้งการนับแคลอรี่ในอาหารทุกมื้อก็ไม่ใช่เรื่องที่ทุกคนชื่นชอบ ไหนจะต้องมานั่งจำว่าอะไรให้ปริมาณสารอาหารเท่าไหร่ วันนี้ที่กินไปในแต่ละมื้อรวมกันแล้วเป็นกี่แคลอรี่ ใครจะคอยพกตาชั่งไว้ชั่งน้ำหนักอาหารได้ทุกมื้อ หรือต้องมานั่งกังวลว่าแคลอรี่ในอาหารที่เขียนอยู่บนฉลากนั้นคลาดเคลื่อนหรือไม่ และที่สำคัญใครจะทำแบบนี้ไปได้ตลอดชีวิต เท็จจริงแล้วเรามีวิธีที่ง่ายกว่านั้น นั่นคือการใช้ “ฝ่ามือ” ของเรานั่นเอง เพราะมือของเราเป็นสิ่งที่อยู่ติดตัวเราตลอด เป็นตาชั่งเคลื่อนที่ที่เราพกพาไปได้ทุกที่ และขนาดฝ่ามือของแต่ละคนก็มีความเหมาะสมกับขนาดตัวของแต่ละบุคคล คนตัวเล็กก็มือเล็ก คนตัวใหญ่ก็มือใหญ่ เพราะฉะนั้นเราจึงสามารถใช้ฝ่ามือของเราเป็นตัวกะปริมาณอาหารที่เราควรกินในแต่ละมื้อได้อย่างคร่าว ๆ ดังนี้
Ø โปรตีน 1 serving = 1 ฝ่ามือ
Ø คาร์โบไฮเดรต 1 serving = 1 อุ้งมือ
Ø ผัก 1 serving = 1 กำมือ
Ø ไขมัน 1 serving = 1 หัวแม่โป้ง
ยกตัวอย่างง่าย ๆ ด้วยอาหาร 1 มื้อ
1. เริ่มจากดูสัดส่วนโปรตีนในจานอาหารของเรา อาจจะเป็นเนื้อไก่ หมู ปลา หรือไข่ ถ้าเป็นผู้หญิงให้เริ่มที่ 1 ฝ่ามือ ส่วนผู้ชาย 2 ฝ่ามือ
2. หลังจากนั้นมาดูปริมาณคาร์โบไฮเดรต คือจำพวกข้าว ขนมปัง มันฝรั่ง หรือผลไม้ สำหรับผู้หญิง 1 อุ้งมือ ส่วนผู้ชาย 2 อุ้งมือ
3. ต่อมาก็ดูที่ผักในจานอาหารกันบ้าง พยายามทานผักให้หลากสีสัน เพื่อให้ได้วิตามินที่หลากหลาย ผู้หญิง 1 กำมือ ส่วนผู้ชาย 2 กำมือ
4. และสุดท้ายไขมัน อาจสังเกตยากหน่อยหากเป็นอาหารที่เราสั่งกินตามร้านอาหาร แต่ถ้าเรามีโอกาสทำอาหารกินเอง ไขมันที่เราควรได้รับคร่าว ๆ ในแต่ละมื้อ ถ้าเป็นผู้หญิง 1 หัวแม่โป้ง ส่วนผู้ชาย 2 หัวแม่โป้ง
อย่างไรก็ตามการใช้ฝ่ามือของเราเป็นตัวกะปริมาณอาหารนั้น เป็นเพียงจุดเริ่มต้นสำหรับคนทั่ว ๆไปที่กินอาหารวันละ 3-4 มื้อ ซึ่งเราไม่อาจคาดเดาได้ล่วงหน้าว่าร่างกายของเราจะตอบสนองอย่างไรกับปริมาณอาหารที่เรากินเข้าไป ดังนั้นต้องคอยสังเกตว่าเราอิ่มเกินไปหรือไม่หรือยังหิวอยู่หรือเปล่า และต้องคอยปรับเพิ่มหรือลดปริมาณอาหารให้เหมาะสมกับที่ร่างกายเราต้องการ เช่น คนที่มีกิจกรรมทางกายเยอะ ก็จะต้องการอาหารมากขึ้น หรือถ้าเป้าหมายของเราคือการเพิ่มน้ำหนัก เราก็ต้องเพิ่มการกินอาหารให้มากขึ้นในแต่ละมื้อ หรืออาจแบ่งเป็นการกินหลายมื้อขึ้นเพื่อเพิ่มปริมาณแต่ไม่ทำให้อิ่มจนเกินไป และถ้าเป้าหมายของเราคือการลดน้ำหนัก เราก็ต้องค่อย ๆ ลดปริมาณอาหารในแต่ละมื้อลง โดยอาจลดปริมาณในส่วนของคาร์โบไฮเดรตและไขมันเป็นหลัก (แต่ไม่ใช่ตัดออกไปเลย)
และสุดท้ายสิ่งที่สำคัญที่สุด เราต้องคอยสังเกตร่างกายและปรับปริมาณของอาหารตามความเหมาะสมที่ร่างกายเราต้องการ เพราะสุขภาพของเราเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่เราต้องเรียนรู้และปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตัวของเรามากที่สุด
photo credit : Precision Nutrition
--------------------------------------------------
โค้ชแพร
ACE certified PT
ACE Certified Health Coach
PN Lv1 (Certificate in exercise nutrition)
Women Fitness Specialist (FIT)
บทความที่เกี่ยวข้อง
ปรับอาหารทานขนมน้อยลง ทานของทอดน้อยลง ทานอาหารเฮลตี้มากขึ้น แต่ทำไมกันนะน้ำหนักไม่ลง
โภชนาการที่ดีมีส่วนสำคัญในการเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนร่างกาย และช่วยเติมพลังงานและฟื้นฟูร่างกายให้พร้อมก่อนการฝึกซ้อมครั้งต่อไป
ต้องมองอาหารเป็นภาพรวมทั้งวัน ไม่ใช่มองแค่อาหารเป็นจานๆ ในปริมาณที่เพียงพอเหมาะสมที่สุดในทุกมื้อ ทานให้พอดี จากหลากหลายแหล่ง
ED ในทางการแพทย์แล้วถือเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ที่เรามักจะได้ยินคำศัพท์ทาง clinical terms ที่จำแนกประเภทของโรคไว้ อย่างเช่น 1. Anorexia Nervosa 2. Bulimia Nervosa 3. Binge Eating
ปริมาณอาหารจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำในวันนั้น โดยที่จะเน้นที่ให้โปรตีนต้องถึงกับที่ร่างกายต้องการ เพิ่มการกินผักให้มาก วันที่ออกกำลังกายอาจจะกินคาร์โบไฮเดรตจากขนมเพิ่มขึ้นบ้างบางครั้ง