บทความ

วิ่งบน “ลู่วิ่ง” สบายกว่าวิ่งบน “พื้นถนน”

 วิ่งบน “ลู่วิ่ง” สบายกว่าวิ่งบน “พื้นถนน”
 
 ใครมีความรู้สึกแบบนี้บ้าง? 
 
==============================
 
 ถ้าพูดกันด้วยเพซ (pace) หรือความเร็วที่เท่ากัน แล้วมานั่งคิดถึงปัจจัยต่าง ๆ มันก็ควรจะเป็นแบบนั้น แต่ในความเป็นจริงก็อาจจะไม่เสมอไปสำหรับทุกคน เพราะฉะนั้นปัจจัยอะไรที่ทำให้เห็นภาพได้ชัดบ้าง
 
ลู่วิ่ง : ซัพพอร์ตการลงน้ำหนักได้ดีด้วยคุณสมบัติของวัสดุต่าง ๆ ที่ถูกประกอบและพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับแรงกระแทกในการวิ่ง
 พื้นถนน : โดยเฉพาะพื้นคอนกรีตที่ซัพพอร์ตการลงน้ำหนักได้ค่อนข้างน้อย ทำให้เกิดแรงกระแทกที่ค่อนข้างมากในการวิ่ง
.
ลู่วิ่ง : ทำให้รอบขาเคลื่อนไหวได้ง่ายและสม่ำเสมอมากขึ้น เพราะสายพานที่วิ่งอยู่ตลอดเวลาด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอ
พื้นถนน : ทำให้แต่ละก้าวในการวิ่งขึ้นอยู่กับสมรรถภาพทางกายของแต่ละคน จะวิ่งเร็วหรือวิ่งช้าปัจจัยหลักคือท่าทางการวิ่งและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพราะพื้นถนนนั้นอยู่คงที่
.
ลู่วิ่ง : ส่วนใหญ่เราจะตั้งอยู่ในพื้นที่ร่มหรือในพื้นที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ ทำให้อุณหภูมิของร่างกายขณะที่วิ่งนั้นไม่สูงจนเกินไป
พื้นถนน : ไม่ว่าเราจะวิ่ง city run, วิ่งในสวนสาธารณะ หรือวิ่งในสนามกีฬา ส่วนใหญ่จะอยู่กลางแจ้ง ทำใหญ่อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นได้ง่ายและควบคุมได้ยาก
 
==============================
 
แต่ความรู้สึกส่วนตัวของผม “ผมรู้สึกว่าวิ่งพื้นถนนนั้นสบายกว่าวิ่งบนลู่วิ่ง” อาจเป็นเพราะ...
 
- ความไม่น่าเบื่อของสภาพแวดล้อม (หรือวิว) ที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ระหว่างทาง
- ความเร็วที่สามารถจะเพิ่มหรือชะลอได้ตามสภาพแวดล้อมหรือตามความรู้สึกที่ต้องการ
- หรือด้วยท่าทางการวิ่ง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หรือคุณสมบัติของรองเท้า ที่อาจทำให้ต่อ 1 ช่วงก้าว (stride length) นั้นทำระยะได้ดีกว่าที่จะถูกจำกัดบนลู่วิ่ง
 
.จากปัจจัยทั้งหมดแต่ละคนมีความคิดเห็นอย่างไร เห็นด้วยหรือเห็นต่างยังไงบ้าง และแต่ละคนชอบวิ่งบน “ลู่วิ่ง” หรือ “พื้นถนน” มาแชร์กันได้นะครับ
 
==============================
 
จอม โศรัจ แวววิริยะ
 
M.Sc. Sport Science (Sport Management)/ B.Sc. Sport Science (Sport Science), Chulalongkorn University, Thailand.
Certified Person Trainer (American Council on Exercise)
โดย Jom Fit-D

จอม ฟิตดี// Co-Founder of Fit-D Fitness Co.Ltd.// M.Sc.Sports Science (Sport Management), Chulalongkorn University, Thailand.// Certified Personal Trainer (American Council on Exercise)

เมื่อ 29 Apr 2021 | อ่านแล้ว 5,567 ครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

การหายใจที่ดีมีผลต่อการวิ่งที่ดี เพราะอย่างที่ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วว่า การวิ่งเป็นกิจกรรมต่อเนื่อง หรือที่เรียกกันว่า cardio (เกี่ยวกับระบบหัวใจและปอด)

เมื่อ 23 Feb 2022 | อ่านแล้ว 7,120 ครั้ง

การฝึกการวิ่งแบบ Tempo run และ Interval คืออะไร ฝึกยังไง มีประโยชน์ยังไง

เมื่อ 06 May 2021 | อ่านแล้ว 57,116 ครั้ง

ทุกคนรู้หรือไม่ว่าแต่ละคำ หรือแต่ละรูปแบบการซ้อมวิ่งนั้น มีจุดประสงค์อะไรบ้าง มีวิธีการต่างกันหรือไม่ และมีประโยชน์อย่างไรกับนักวิ่ง

เมื่อ 06 May 2021 | อ่านแล้ว 29,195 ครั้ง