บทความ
Tempo run และ Interval คืออะไร?
Easy, LSD, Tempo Run และ Interval
4 รูปแบบการซ้อมวิ่งที่ครบถ้วน
ตอนที่ 2 : Tempo run และ Interval
เพราะแต่ละรูปแบบการซ้อมวิ่งนั้นมีจุดประสงค์ วิธีการ และประโยชน์ที่แตกต่างกัน ฉะนั้นหากนักวิ่งไม่เข้าใจในแต่ละรูปแบบการซ้อม ว่าเราซ้อมรูปแบบนั้นไปทำไม ซ้อมรูปแบบนี้ไปเพื่ออะไร ก็อาจจะทำให้พัฒนาการของนักวิ่งไม่เป็นไปตามที่ต้องการ หรือพัฒนาได้แต่อาจไม่ตรงกับเป้าหมายที่ต้องการ
ย้อนกลับไปอ่านตอนที่ 1 : Easy run และ Long run https://bit.ly/3uctFJg
==============================
Tempo run :
เป็นรูปแบบการซ้อมวิ่งที่มีจุดประสงค์ในการพัฒนาความทนทานของระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด (anaerobic endurance) รวมถึงความทนทานของกล้ามเนื้อ (muscular endurance) เพื่อให้กล้ามเนื้อทนต่อความเมื่อยล้าที่เกิดขึ้นจาก lactic acid (หรือของเสียที่ร่างกายขับออกมาในขณะทำงานอย่างหนัก)
เป็นการวิ่งในระดับความหนักที่ค่อนข้างสูง หรือถ้าเปรียบเทียบในขณะที่เราวิ่ง เราจะยังพอฟัง จับใจความ ประมวลผลได้ แต่จะสามารถตอบกลับแค่เพียงคำพูดเป็นคำ ๆ หรือพูดประโยคยาวไม่ได้ ถ้าหากประเมินความเหนื่อยเป็นตัวเลขจะอยู่ที่ประมาณ RPE 7-8 (เต็ม 10) หรือประมาณ Zone 3 กลาง ๆ - Zone 4 ปลาย ๆ
Tempo run เป็นการซ้อมวิ่งที่ต้องใช้ความหนักใกล้เคียงกับที่จะใช้ในวันที่แข่งขันจริง เช่น เราวางเป้าหมายว่าจะวิ่ง 10K Pace5.0 เพราะฉะนั้นในการซ้อม tempo run เราควรจะต้องวิ่ง Pace5.0 ในระยะใกล้เคียง (เช่น 5K-8K) หรือเราควรจะต้องวิ่ง 10K ในความเร็วใกล้เคียง (เช่น ~Pace5.30) ให้ได้ เป็นต้น
Tempo run เป็นการซ้อมที่มีความเฉพาะเจาะจงและมีความหนักที่ค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับนักวิ่งที่ต้องการเพิ่ม performance ของตัวเองให้ดีขึ้น เพราะฉะนั้นการพักผ่อนเพื่อฟื้นฟูร่างกายหลังจากการซ้อม tempo run ก็สำคัญมาก ๆ เช่นกัน
.
.
Interval (Speed run)
เป็นรูปแบบการซ้อมวิ่งที่มีจุดประสงค์ในการพัฒนาความแข็งแรงและความทนทานของระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด (anaerobic endurance-anaerobic power) รวมถึงเป็นการพัฒนาให้ร่างกายมีระดับ VO2Max ที่สูงขึ้น หรือพูดง่าย ๆ ว่าฟิตขึ้นนั่นเอง
เป็นรูปแบบการซ้อมวิ่งที่หนักที่สุดหากเปรียบเทียบกับทั้ง 4 รูปแบบที่พูดถึง โดยมีลักษณะเฉพาะ คือ หนักสลับเบา (วิ่งเร็วสลับ jogging หรือวิ่งเร็วสลับเดิน) และค่อนข้างมีความหลากหลายของวิธีการ ซึ่งแล้วแต่จุดประสงค์ที่นักวิ่งต้องการ
เป็นการวิ่งในระดับความหนักที่สูง เปรียบเทียบกับการวิ่งในระดับความเร็วที่เราไม่สามารถที่จะคุยกับใครได้ ตั้งหน้าตั้งตาวิ่งเพียงอย่างเดียว หรือถ้าประเมินความเหนื่อยเป็นตัวเลขจะอยู่ที่ประมาณ RPE 9-10 (ในขณะที่วิ่งเร็ว ไม่นับรวมขณะที่พัก jogging หรือเดิน) หรือ Zone 5 นั่นเอง
สำหรับนักวิ่งที่วางแผนการซ้อม interval ควรจะต้องเข้าใจในจุดประสงค์ที่จะทำ เช่น เราจะวิ่ง 200 เมตร 10 รอบ เพื่อกระตุ้นระบบประสาทสั่งการให้ร่างกายรับรู้ว่าเราจะต้องวิ่งด้วยความเร็วระดับนี้ให้ได้ เพื่อเอาไปใช้ในสถานการณ์ที่เราจะเร่งแซงนักวิ่งคนอื่นหรือเร่งเพื่อเข้าเส้นชัยในการแข่งขัน เป็นต้น
และทั้งหมดนี้คือรูปแบบการซ้อมวิ่งที่ครบถ้วน ซึ่งสามารถทำให้นักวิ่งเกิดการพัฒนาได้ในรอบด้านหากมีการวางแผนที่เหมาะสม และสำหรับใครที่กำลังฝึกซ้อมวิ่งอยู่ และมีไอเดีย มีโปรแกรม หรืออยากแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับรูปแบบการวิ่งของตัวเอง มาพูดคุยกันในคอมเมนท์ได้เลยนะครับ
==============================
จอม โศรัจ แวววิริยะ
M.Sc. Sport Science (Sport Management)/ B.Sc. Sport Science (Sport Science), Chulalongkorn University, Thailand.
Certified Person Trainer (American Council on Exercise)
บทความที่เกี่ยวข้อง
การพักผ่อนที่เพียงพอ การกินอาหารให้ครบมื้อครบหมู่ การขยับร่างกายให้สม่ำเสมอ
เมื่อ 09 Nov 2022 |
อ่านแล้ว
2,271 ครั้ง
เพื่อน ๆ นักวิ่ง ในเพจฟิตดี ออกไปวิ่งตอนไหนกันครับ “ตอนเช้า” “ตอนกลางวัน” หรือ “ตอนเย็น” แล้วคิดว่าช่วงเวลาไหนดีที่สุด
เมื่อ 01 Sep 2022 |
อ่านแล้ว
1,579 ครั้ง
การหายใจที่ดีมีผลต่อการวิ่งที่ดี เพราะอย่างที่ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วว่า การวิ่งเป็นกิจกรรมต่อเนื่อง หรือที่เรียกกันว่า cardio (เกี่ยวกับระบบหัวใจและปอด)
เมื่อ 23 Feb 2022 |
อ่านแล้ว
7,119 ครั้ง
ทุกคนรู้หรือไม่ว่าแต่ละคำ หรือแต่ละรูปแบบการซ้อมวิ่งนั้น มีจุดประสงค์อะไรบ้าง มีวิธีการต่างกันหรือไม่ และมีประโยชน์อย่างไรกับนักวิ่ง
เมื่อ 06 May 2021 |
อ่านแล้ว
29,194 ครั้ง
ความแตกต่างของการฝึกวิ่งแบบวิ่งบนลู่และแบบซ้อมวิ่งบนถนนต่างกันยังไง
เมื่อ 29 Apr 2021 |
อ่านแล้ว
5,566 ครั้ง