ก่อนหน้านี้เราคงเคยได้อ่านบทความจากโค้ชวาวในเรื่องของ Food Relationship ที่เล่าว่าอาหารนั้นเป็นมากกว่าแค่อาหารที่อยู่ตรงหน้า เพราะอาหารแต่ละชนิด แต่ละเมนู ของพวกเราแต่ละคน มันมักจะมีความเชื่อมโยงกับเหตุการ์ณ กับความรู้สึก กับความทรงจำของเรา เคยเป็นความอบอุ่น เคยเป็นที่พักพิงทางใจ ให้กับพวกเรา
ไม่แปลกที่ในวันนี้เมื่อเราเติบโต เมื่อเราผ่านเหตุการ์ณต่างๆที่สร้างความทรงจำกับอาหารมามากมาย แล้วในวันที่เราเครียด เราเหงา เราเบื่อ เราท้อ เราก็อยากจะหาอะไรปลอบใจ หาอะไรแก้เครียด และอาหารมันก็เป็นสิ่งที่หาได้ง่ายๆ ปลอบใจเราได้อย่างรวดเร็ว แถมไม่ผิดกฎหมายอีกต่างหาก ทำไมจะทำไม่ได้ล่ะ
เป็นเรื่องปรกตินะคะ และมันไม่แปลกเลย มันโอเคด้วยซ้ำไปค่ะ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องที่ผิดอะไร
แต่ Emotional Eating จะเริ่มเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อ....
- เราทำมันบ่อยๆ (เช่น ทำทุกวัน)
- เราเคร่งเครียด เราหมกมุ่นกับมันมากเกินไป โดยไม่สนใจกิจกรรมอะไรอื่นๆ
- เรารู้สึกควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือรู้สึกว่า “ต้องทำ”
- เราหยุดตัวเองไม่ได้ ถึงแม้จะรู้สึกว่าอิ่มพอแล้ว
- เราเริ่มทำร้ายตัวเอง (ไม่ว่าจะจากการกินที่มากเกินไป หรือการอด ไม่กิน การรู้สึกว่าต้อง control อาหาร)
และ – เราไม่สามารถหาวิธีอื่นเพื่อปลอบประโลมตัวเองเวลาเครียด หรือมีวิธีอื่นที่จะจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้
ถ้าใครอ่านมาถึงตรงนี้ เริ่มรู้สึกว่า “เฮ้ย นี่มันคล้ายๆเราเลย” หรือ “ใช่เลย กำลังเป็นอยู่”.....วันนี้คุณมาถูกทางแล้วค่ะที่มาเจอบทความนี้ เพราะแพรอยากจะบอกว่ามันมีวิธีแก้ ที่เราไม่จำเป็นต้องหลงอยู่ในวังวนวงโคจรแบบเดิมๆ เรา break free ออกมาได้ด้วยเทคนิคที่แพรจะมาแนะนำในวันนี้ค่ะ
1. ฝึก Scan ร่างกายตัวเอง – เทคนิคนี้เราใช้สติ -หยุด- สักครู่ ขอเวลาแค่ 5 นาที สำหรับตัวเองที่ตรงนี้ แล้วคิดว่าเรากำลังเป็นเครื่องแสกนตัวเองค่ะ....ลองสังเกตตัวเองดูสิว่า ตอนนี้ร่างกายของเรากำลังรู้สึกอะไร (Physical sensation) อาการทางกายของเราคืออะไร ณ ขณะนี้? หลังจากนั้นลองสังเกตอารมณ์ ว่าตอนนี้เรากำลังมีอารมณ์แบบไหน เรากำลังรู้สึกอะไรอยู่?(Emotions and feelings) สุดท้ายมาลองดูที่ความคิดของเรา ตอนนี้เรากำลังคิดอะไรอยู่ และชุดความคิดของเราตอนนี้มันกำลังบอกอะไรเราอยู่? (Thoughts and mental scripts)
เทคนิคนี้เป็นการฝึก ให้เราได้ slow down จากพฤติกรรมอัตโนมัติของเราค่ะ...มันอาจจะไม่ได้ทำให้เราหยุด เลิกกิน หรือทำให้ความรู้สึกเหล่านี้มันหายไปได้ แต่เมื่อเราได้หยุด ได้คิด ได้ใช้สติกับตัวเองมากขึ้น เราอาจจะเลือกได้ดีขึ้น และคิดอะไรได้ดีขึ้นค่ะ
2. ระบุสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิด Emotional Eating ของเรา....ส่วนใหญ่ที่พบได้บ่อยๆ จะเป็น
- หิว, โมโห(หรือกังวล), เหนื่อย ,เหงา –
เหล่านี้ที่เรามักจะพบบ่อยค่ะ แต่สิ่งเหล่านี้ก็อาจจะไม่ใช่ทั้งหมดที่ทำให้เกิด Emotional Eating สำหรับบางคนอาจจะมีตัวกระตุ้นอื่น ลองสังเกต แล้วตั้งชื่อให้มันดูนะคะ เพราะหลังจากที่เรามี awareness หรือการรับรู้แล้วว่ามันคืออะไร มันจะนำไปสู้การฝึกอันต่อไป คือ “การจดบันทึก” ค่ะ เราสามารถเริ่มบันทึกว่าในแต่ละมื้อ เรากินอาหารอะไร แล้วเรารู้สึกอย่างไร ก่อนกิน หรือหลังกิน เรารู้สึกยังไง จดบันทึกเอาไว้ค่ะ อาจจะใช้เวลาไม่กี่วัน หรืออาจจะสักหนึ่งอาทิตย์ ทีนี้เราค่อยกลับมาดูอีกรอบ เราจะเริ่มเห็น Pattern การกินของเราว่ามันเชื่อมโยงกับความรู้สึกอะไรบ้าง หรือเชื่อมโยงกับเหตุการ์ณอะไรบ้างที่เกิดชึ้นก่อนหน้านี้ ที่ทำให้เราเกิด Emotional Eating ที่ทำให้เราควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเรา และภายในตัวเราเอง
เอาล่ะค่ะ....วันนี้แพรเอามาฝากกับ 2 เทคนิคที่ทุกคนสามารถลองเอาไปฝึกทำได้เลย จริงๆแล้วการฝึกเพื่อแก้ไขปัญหา Emotinal Eating นั้นยังมีอีกหลายวิธี แต่เป้าหมายของการฝึกเหล่านี้ไม่ใช่เพื่อให้เราต้อง อด ต้องเลิก ต้องควบคุม อาหารอะไรใดๆ เพราะ mindset ของการควบคุม ไม่ใช่ทางออกและวิธีแก้ไข แต่มันคือการทำให้เราเรียนรู้ ได้ใช้สติ ได้ทบทวน จากภายในของตัวเราเอง
เพราะการรู้จักตัวเองเท่านั้น ที่จะนำเราไปสู่การพัฒนาตัวเอง และเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ในที่สุดค่ะ