บทความ

“Relative Energy Deficiency” (RED-S)

ใครที่ฝึกซ้อมกีฬา ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หรือ ตั้งใจออกกำลังกายเพื่อลดไขมัน ผมอยากจะให้รู้จักกับคำนี้ “Relative Energy Deficiency” (RED-S) ครับ
 
RED-S เป็นกลุ่มอาการที่องค์กรโอลิมปิกสากล (IOC) ได้บัญญัติขึ้นมาในปี 2014 เกิดจากการที่ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารจากการกินน้อยกว่าพลังงานที่ใช้ออกไปในแต่ละวัน จนร่างกายเสียสมดุลย์ ทำให้มีพลังงานไม่เพียงพอในการทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งส่งผลเสียต่อทั้งทางด้านสุขภาพร่างกาย สุขภาพจิต และสมรรถภาพร่างกายตามมา
ผลเสียที่เกิดขึ้น จะแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ
 
1. ทางด้านสุขภาพ (Health)
- รู้สึกอ่อนล้า อ่อนเพลียตลอดเวลา
- เวียนหัวหรือปวดหัวบ่อย
- หงุดหงิดบ่อย หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน
- รู้สึกเซื่องซึม ซึมเศร้า วิตกกังวลมากขึ้น
- ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนมาไม่ปกติ
- ป่วยง่าย มีน้ำมูก ไอจามบ่อย ติดเชื้อง่าย
- นอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกเป็นประจำ
- ความเข้มข้นเม็ดเลือดแดงลดลง มีภาวะโลหิตจาง
- ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องบวม เกิดแก๊สในท้อง ท้องผูก
- ฮอร์โมนต่าง ๆ ทำงานลดลง
- ระบบเผาผลาญลดลง
- มีรูปแบบการกินที่แปลกไป หรือกลัวการกิน (Disordered Eating/ Eating Disorder)
 
2. ทางด้านสมรรถภาพร่างกาย (Performance)
- ความแข็งแรงและความทนทานลดลง
- ประสิทธิภาพในการออกกำลังกายลดลง
- สมรรถภาพร่างกายแย่ลง
- เหนื่อยง่ายขึ้น ออกกำลังกายแบบเดิมแต่รู้สึกเหนื่อยมากขึ้น
- ไม่สามารถซ้อมตามโปรแกรมที่วางไว้ได้
- มีอาการบาดเจ็บเรื้อรัง ทั้งที่กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ และกระดูก
- สมาธิ การโฟกัส และการตัดสินใจแย่ลง
- มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการบาดเจ็บมากขึ้น
 
  ใครที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการจาก RED-S 
 
1. คนที่ฝึกซ้อมกีฬาประเภท Endurance เช่น นักวิ่งระยะไกล นักวิ่งเทรล นักปั่นจักรยาน ไตรกีฬา ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างอย่างช่วงใกล้แข่งขันที่โปรแกรมฝึกซ้อมมีความเข้มข้นสูงขึ้นและระยะเวลาในการฝึกซ้อมนานขึ้น
 
2. คนที่ฝึกซ้อมกีฬาที่มีการโชว์รูปร่าง เช่น ว่ายน้ำ สเก็ตน้ำแข็ง เต้น ยิมนาสติก เป็นต้น
 
3. นักกีฬาต่อสู้ที่ต้องควบคุมน้ำหนักตัวตลอดเวลา
 
4. คนที่อดอาหาร คนที่กินน้อย ๆ แต่โหมออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก
 
เพราะฉะนั้นการกินจึงมีความสำคัญทั้งต่อสุขภาพ รูปร่างและสมรรถภาพร่างกายมาก ๆ เราจะไม่ออกกำลังกายหรือใช้ชีวิตตามการกิน แต่เราควรจะกินตามรูปแบบการใช้ชีวิตและตามการฝึกซ้อมของเรา ช่วงที่ออกกำลังกายหนักขึ้น เราต้องมีการปรับการกินเพิ่มขึ้น ช่วงที่ออกกำลังกายลดลง ก็ปรับการกินลดลง ต้องปรับการกินให้สอดคล้องการออกกำลังกายหรือการใช้ร่างกายในแต่ละวัน เมื่อเราออกกำลังกายหรือฝึกซ้อมได้เต็มที่ รูปร่าง สุขภาพ และสมรรถภาพร่างกายจะดีขึ้นอย่างแน่นอน
 
ใครเคยมีอาการอะไรบ้างที่เกิดจาก RED-S มาแชร์กันได้ครับ
_____________________________
 
*** สำหรับคนที่สนใจเรียนเรื่องการกินเพิ่มเติม Fit-D Academy กำลังจะคอร์สโภชนาการออนไลน์สำหรับการลดไขมัน (Nutrition For Fat Loss: Look Better, Feel Better, Perform Better) สำหรับคนที่อยากจะเข้าใจในเรื่องการกินมากขึ้น สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางลิ้งค์นี้เลยครับ
_____________________________
 
สำหรับคนที่สนใจมาออกกำลังกายที่ยิม, เทรนออนไลน์ เทรนแบบผสมผสาน หรือปรึกษาเพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง เรามีให้บริการครับ
- Fit-D Space : Phayathai, Ratchada and Sukhumvit 39
- Fit-D PT Online : Customized Training Program ผ่านเวปไซต์ Fit-D.com
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมของคอร์สต่าง ๆ ได้ทางลิ้งค์นี้ครับ http://m.me/FitDThailand
    - FIT-D l GET FIT THE RIGHT WAY -
“เรารู้ว่าคุณออกกำลังกายเองได้ แต่เรายินดีที่จะช่วยให้คุณออกกำลังกายได้อย่างถูกต้องและเห็นผลครับ”
_____________________________
 
นิว วีระเดช ผเด็จพล
MSc. Sport & Exercise Nutrition, Leeds Beckett University, UK
Certified Strength & Conditioning Specialist (NSCA)
Certified Personal Trainer (NSCA)
ผู้ร่วมก่อตั้ง Fit-D Fitness และเว็บไซต์ fit-d.com
Educator at FIT
IG: new_fitd
โดย New Fit-D

พี่นิว หนึ่งในเจ้าของฟิตดี, Master Trainer at Fit-D fitness

เมื่อ 01 Nov 2021 | อ่านแล้ว 2,886 ครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

การกินอาหารหลังออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่สำหรับคนที่มีกิจกรรมทางกายปกติทั่วไป หากกินอะไรก็ได้ในปริมาณที่เยอะก็ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้อ้วนอยู่ดี

เมื่อ 19 Apr 2020 | อ่านแล้ว 3,809 ครั้ง

ใครที่ตั้งใจจะเปลี่ยนแปลงรูปร่าง อยากจะแข็งแรงขึ้น อยากจะมีสุขภาพดีขึ้น แต่ก็ยังทำไม่ได้ ผมอยากจะชวนให้ “เลิก” ทำสิ่งเหล่านี้เพื่อปีหน้าจะได้เป็นสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้

เมื่อ 29 Dec 2021 | อ่านแล้ว 1,430 ครั้ง