A PHP Error was encountered

Severity: Warning

Message: getimagesize(): Peer certificate CN=`ptm.fit-d.com' did not match expected CN=`fit-d.com'

Filename: libraries/Header_tag.php

Line Number: 112

Backtrace:

File: /var/www/fit-d/application/libraries/Header_tag.php
Line: 112
Function: getimagesize

File: /var/www/fit-d/application/controllers/Blog.php
Line: 112
Function: set_image_preview

File: /var/www/fit-d/index.php
Line: 323
Function: require_once

A PHP Error was encountered

Severity: Warning

Message: getimagesize(): Failed to enable crypto

Filename: libraries/Header_tag.php

Line Number: 112

Backtrace:

File: /var/www/fit-d/application/libraries/Header_tag.php
Line: 112
Function: getimagesize

File: /var/www/fit-d/application/controllers/Blog.php
Line: 112
Function: set_image_preview

File: /var/www/fit-d/index.php
Line: 323
Function: require_once

A PHP Error was encountered

Severity: Warning

Message: getimagesize(https://fit-d.com/uploads/blog_cover/064d9d2c29018809b67781523f23d2ae.png): failed to open stream: operation failed

Filename: libraries/Header_tag.php

Line Number: 112

Backtrace:

File: /var/www/fit-d/application/libraries/Header_tag.php
Line: 112
Function: getimagesize

File: /var/www/fit-d/application/controllers/Blog.php
Line: 112
Function: set_image_preview

File: /var/www/fit-d/index.php
Line: 323
Function: require_once

WATER – น้ำ.....สำคัญยังไง และต้องดื่มแค่ไหนถึงจะดี - Fit-d.com

บทความ

WATER – น้ำ.....สำคัญยังไง และต้องดื่มแค่ไหนถึงจะดี

ร่างกายคนเราประกอบไปด้วยน้ำค่ะ กว่า 60% ของน้ำหนักร่างกายเรา ส่วนใหญ่ก็มาจากน้ำนั่นแหละค่ะ เพราะน้ำแทรกซึมอยู่ในทุกๆเซลล์ ทุกๆอวัยวะ และทุกๆส่วนของร่างกายเราก็ต้องการน้ำในปริมาณที่แตกต่างกัน เช่น

- กระดูก ประกอบไปด้วยน้ำ 22%

- เนื้อเยื่อไขมัน ประกอบไปด้วยน้ำ 25%

- กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อสมอง ประกอบไปด้วยน้ำ 75%

- ระบบเลือด ประกอบไปด้วยน้ำ 83%

- นัยน์ตา ประกอบไปด้วยน้ำ 95%

จะเห็นได้ว่าแต่ละส่วนของร่างกายเราต้องการน้ำเป็นส่วนประกอบเพื่อช่วยทำให้การทำงานของระบบต่างๆเป็นได้อย่างราบรื่นค่ะ

 

น้ำมีหน้าที่อะไรในร่างกายบ้าง มาดูกันค่ะ

  • น้ำมีหน้าที่เป็นตัวกลางในการละลายสารอาหารต่างๆที่เรารับเข้าไปในร่างกาย เช่น โปรตีน
  • น้ำมีหน้าที่ช่วยลำเลียงสารอาหารต่างๆ (ที่ได้ถูกละลายแล้ว) เข้าสู่ระดับเซลล์ในร่างกาย รวมไปถึงการลำเลียงของเสียออกจากเซลล์ด้วย
  • น้ำมีหน้าที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ เมื่อร่างกายของเรามีอุณหภูมิสูงขึ้น เราจึงมีเหงื่อ ซึ่งเป็นการระบายความร้อนออกจากร่างกายนั่นเอง
  • น้ำมีหน้าที่ช่วยหล่อลื่นให้อวัยวะ และข้อต่อต่างๆของร่างกายให้ทำงานได้ดีตามปรกติ
  • ช่วยในระบบทางเดินอาหาร ไม่ทำให้เราท้องผูก
  • ช่วยควบคุมความสมดุลของระดับแร่ธาตุและสารละลายในร่างกาย (electrolyte)

 

ซึ่งการที่เราจะทำให้ระบบการทำงานต่างๆในร่างกายตามที่กล่าวมาข้างต้นทำงานได้อย่างปรกติ เราจำเป็นต้องได้รับปริมาณน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพราะในแต่ละวัน ร่างกายมีการสูญเสียน้ำได้จากทางผิวหนัง ในรูปแบบของเหงื่อ และถึงแม้ว่าบางครั้งเราจะมองไม่เห็นก็ตาม แต่ร่างกายก็ยังมีการขับน้ำออกมาทางผิวหนังเสมอ(ไม่มีเหงื่อ ไม่ได้แปลว่าไม่เสียน้ำนะจ้ะ) และในระหว่างที่เราหายใจ ร่างกายก็ยังต้องใช้น้ำในการทำให้ทางเดินหายใจชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา รวมถึงทางการขับถ่าย ก็สามารถทำให้เราสูญเสียน้ำเช่นกัน

 

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อเราขาดน้ำ?

ปรกติแล้วเราจะไม่ค่อยรู้สึกตัวว่าเรากำลังขาดน้ำ จนกระทั่งร่างกายขาดน้ำไปแล้วประมาณ 1-2% ของร่างกาย (นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมเราควรดื่มน้ำอยู่เสมอ ไม่ใช่รอให้รู้สึกกระหายน้ำแล้วค่อยดื่ม เพราะตอนนั้นแปลว่าร่างกายขาดน้ำแล้วค่ะ) แต่รู้หรือไม่ว่า แค่เราขาดน้ำเพียง 1-2% ก็เริ่มส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายแล้วนะคะ และถ้าร่างกายขาดน้ำมากกว่า 2% เราจะเริ่มเห็นอาการต่างๆดังนี้

  • ปวดศรีษะ
  • อ่อนเพลีย
  • ความดันในเลือดต่ำ
  • เวียนหัว หรือเป็นลม
  • คลื่นไส้
  • หัวใจเต้นเร็ว

และสุดท้ายถ้าร่างกายขาดน้ำไปเรื่อยๆ อาการเหล่านี้ก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและอาจส่งผลถึงชีวิตได้เลยล่ะค่ะ!!

 

แล้วต้องเท่าไหร่ถึงจะดี?

เหมือนอย่างที่เราได้รับสารอาหารจากอาหารที่เรากิน เราก็ได้รับน้ำจากการดื่ม และจากอาหารบางอย่างที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบเช่นกันค่ะ ซึ่งในแต่ละคน ความต้องการในการได้รับน้ำก็แตกต่างกันออกไปเช่นเดียวกัน เช่น คนที่ออกกำลังกายหนักและมีการสูญเสียน้ำมาก ก็อาจจะต้องการน้ำมากกว่าคนที่นั่งทำงานในห้องแอร์ทั้งวัน โดยทั่วไปแล้ว ความต้องการของน้ำในชีวิตประจำวันโดยทั่วไปของเราจะเป็นดังนี้ค่ะ

  • ผู้ใหญ่ 3 ลิตร (12 แก้ว) ต่อวัน โดย 2 ลิตร มาจากการดื่ม ส่วนอีก 1 ลิตร โดยเฉลี่ย นั้นมาจากอาหารที่เรากินในชีวิตประจำวันค่ะ
  • คนที่มีรูปร่างใหญ่ จะต้องการน้ำมากกว่าคนที่มีรูปร่างเล็กกว่า
  • คนป่วยที่มีการสูญเสียน้ำมากจากการขับถ่าย จะมีความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นรวมถึงแร่ธาตุที่เสียไปกับน้ำ
  • หากอยู่ในที่ๆมีอุณหภูมิร้อนขึ้น หรืออากาศแห้งมากขึ้น เราอาจจะต้องการน้ำเพิ่มขึ้น 500ml (2แก้ว)
  • ถ้าเป็นผู้ที่ออกกำลังกายหนัก อาจต้องการน้ำมากถึง 6 ลิตร ต่อวัน

 

เทคนิคในการดื่มน้ำให้เพิ่มขึ้น

หลายๆคนมักจะมองข้ามการดื่มน้ำในชีวิตประจำวันไปเพราะเป็นเรื่องที่มักจะไม่ได้นึกถึงเวลางานยุ่งหรือรีบๆ แต่ถ้าเรามีเทคนิคในการกระตุ้นตัวเองให้ดื่มน้ำอยู่เสมอ การเพิ่มน้ำเข้าไปในชีวิตประจำวันของเราอาจจะไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ

  • พกขวดน้ำ (1ลิตร) ติดตัวไว้เสมอ และให้ดื่มน้ำทุกครั้งที่เห็นขวดน้ำนี้ คอยบอกตัวเองว่า วันนี้ต้องดื่มให้ได้สองขวดนี้ค่ะ
  • วางแก้วน้ำไว้ในครัว (ที่ๆจะสังเกตเห็นได้ อาจจะใกล้ๆตู้เย็นหรือที่เก็บน้ำ) และทุกๆครั้งที่เดินเข้าไปที่ครัว ให้ดื่มน้ำ 1 แก้วเสมอค่ะ (ช่วงนี้ใครอยู่บ้านได้เดินเข้าครัวบ่อยอยู่แล้วแน่นอน)
  • ดื่มน้ำหนึ่งแก้ว เมื่อทานอาหารทุกมื้อ
  • เมื่อรู้สึกกระหายน้ำให้ดื่มน้ำเพิ่มขึ้นกว่าเดิมอีกนิด จากที่คิดว่าพอแล้ว

 

เป็นยังไงบ้างคะกับเทคนิคง่ายๆในการดื่มน้ำให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ร่างกายของเราได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะน้ำก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่เราควรให้ความสำคัญกับเขามากๆไม่แพ้สารอาหารเลยทีเดียว ถ้ารู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมเพิ่มน้ำเข้าไปในชีวิตประจำวันของเราให้มากขึ้นกันนะคะ

โดย แพร แอมเมอรี่

ACE Certified PT, ACE Certified Health Coach, PN Level 1 certified

เมื่อ 11 May 2020 | อ่านแล้ว 3,342 ครั้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอากาศที่ร้อน ส่งผลทำให้วิ่งได้เวลาแย่ลง วิ่งยากขึ้น เลยอยากจะมาเขียนสรุปเรื่อง “น้ำ กับ สมรรถภาพร่างกาย” และการดูแลตัวเองในการฝึกซ้อมหรือแข่งขันในช่วงหน้าร้อนมาให้อ่านกัน

เมื่อ 05 Apr 2021 | อ่านแล้ว 2,539 ครั้ง

การ Work from home (WFH) จึงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของพนักงาน แต่เชื่อหรือไม่ว่า การย้ายที่ทำงานจากที่ออฟฟิศมาเป็นที่บ้าน กลับทำให้อาการออฟฟิศซินโดรมทวีความรุนแรงมากขึ้น

เมื่อ 12 Apr 2022 | อ่านแล้ว 2,190 ครั้ง

ช่วงอายุ 30 กว่า ๆ จนถึงปัจจุบันเป็นช่วงที่สุขภาพร่างกาย และรูปร่างดีกว่าตอนอายุ 20-30 ปีซะอีก เป็นเพราะอะไร

เมื่อ 23 Feb 2022 | อ่านแล้ว 1,325 ครั้ง