บทความ
“สูตรร้อน” กับ “สูตรเย็น” ควรเลือกใช้สูตรไหนดี
ยาบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ เช่น อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำจากแรงกระแทก หรือมีอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อ ฯลฯ เป็นยาทาที่ใช้สำหรับภายนอก ใช้ทาในบริเวณที่ปวดเพื่อให้ตัวยาดูดซึมเข้าสู่ผิวหนัง
สำหรับอาการปวดต่าง ๆ ที่ไม่รุนแรงนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการใช้ชีวิตประจำวันโดยทั่วไป การออกกำลังกาย หรือจากอุบัติเหตุ ดังนั้นเมื่อเกิดอาการปวดขึ้นมาแล้ว หลายคนก็เลือกที่จะบรรเทาอาการปวดนั้นลง ด้วยยาทาบรรเทาอาการปวดสูตรต่าง ๆ แต่หลายคนก็ยังสงสัยว่าทำไมยาทาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อต้องมีทั้ง “สูตรร้อน” และ “สูตรเย็น” และทั้งสองสูตรนี้แตกต่างกันอย่างไร ควรเลือกใช้สูตรไหน และควรใช้เมื่อไหร่
สูตรร้อนใช้เมื่อ...
จากการพิจารณาเบื้องต้นเหมาะกับอาการปวดแบบไม่กระทันหัน มีอาการมานานหรือเรื้อรัง แบบเป็น ๆ หาย ๆ ปวดร่วมกับมีอาการตึงกล้ามเนื้อ หรือเมื่อมีอาการมาแล้วมากกว่า 48 ชั่วโมง ควรเลือกใช้ยาทาบรรเทาอาการปวด สูตรร้อน เพราะความร้อนจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น จึงช่วยลดอาการปวดตึงกล้ามเนื้อได้
สูตรเย็นใช้เมื่อ...
จากการพิจารณาเบื้องต้นเหมาะกับอาการปวดที่เกิดจากการบาดเจ็บแบบเฉียบพลัน มีอาการปวด บวม หรือทันทีที่เริ่มมีอาการปวดและไม่เกิน 48 ชั่วโมง ควรเลือกใช้ยาทาบรรเทาอาการปวดอักเสบ สูตรเย็น เพราะความเย็นจะทำให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือดออกน้อยลงและช่วยลดบวมได้
การใช้ยาทาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ไม่ควรถูหรือนวดมากเกินไป เพราะอาจทำให้รู้สึกแสบร้อนบริเวณที่ทายา และต้องไม่ใช้ยาทาบรรเทาอาการปวดในบริเวณที่มีบาดแผลเปิดหรือมีเลือดออก เพราะจะทำให้มีการอักเสบเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้การเลือกใช้ยาทาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของเภสัชกรหรือแพทย์เท่านั้น เพราะแต่ละยี่ห้อก็มีส่วนผสมตัวยาที่แตกต่างกัน และหากอาการปวดไม่บรรเทาลงภายใน 2 สัปดาห์หลังการใช้ยาบรรเทาอาการปวด ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการ
----------------------------------------
โค้ชนิว วีระเดช ผเด็จพล
MSc. Sport & Exercise Nutrition, Leeds Beckett University, UK
Certified Strength & Conditioning Specialist (NSCA)
Certified Personal Trainer (NSCA)
Co-founder of Fit-D Fitness
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
บทความที่เกี่ยวข้อง
ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อที่หาซื้อได้ในร้านขายยามีอยู่ด้วยกันหลายชนิด การเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของการอักเสบ หรือบางทีอาจไม่ต้องใช้เลยก็ได้ถ้าหากอาการปวดไม่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน
ควรคำนึงถึงคือการยืดเหยียดและการนวดกดเฉพาะจุดเพื่อคลายกล้ามเนื้อที่ตึงตัวอย่างเป็นประจำ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะลดความเสี่ยงของการเกิดการบาดเจ็บได้
เพลีย ง่วง เหนื่อย รู้สึกหมดพลังอยู่แทบตลอดเวลา ทำยังไงถึงดีขึ้น
วิธีแก้อาการนอนไม่หลับ 7 ข้อ ถ้าทำได้ นอนดีขึ้นแน่นอน!
การ Work from home (WFH) จึงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของพนักงาน แต่เชื่อหรือไม่ว่า การย้ายที่ทำงานจากที่ออฟฟิศมาเป็นที่บ้าน กลับทำให้อาการออฟฟิศซินโดรมทวีความรุนแรงมากขึ้น